วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
มาดูปลาทะเลสวยๆกันนะครับ
ดีใจที่ปลาหลายๆตัวได้น้ำแต่ผมว่าปลาการ์ตูนนี้ต้องได้น้ำเค็มสาเหตุก็เพราะว่าเป็นปลาน้ำเค็มอยู่ในทะเลโน่น ใครหลายๆคนคงเคยได้ยินปลาการ์ตูนไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรงพักกงหราหรอกครับแต่เผื่อว่ามีใครชอบปลาการ์ตูนอาจเป็นเพราะว่ามันสวยดีมีหลากหลายสีสัน ว่างั้นเถอะโรงพักกงหราไม่มีน้ำเค็ม เลยไม่มีปลาการ์ตูนต้องไปหาที่ร้านขายปลาแถวไหนน่ะหรือ อ้อ แถวนี้คงไม่มีผมหมายถึงกงหรา เพราะว่ากงหรายังไม่มี 7แต่ก็เกือบแล้วละครับ ใจเย็นๆ รออีกนิดความเจริญกำลังคืบคลานเข้ามาทุกส่วนสัด ของระบบย่อมเจริญขึ้นเป็นเงาตามตัวอาจจะยังไม่ถึงขนาดในเมืองใหญ่กงหรายังไม่น่าจะมีน้ำคลำน้ำใสเย็น เห็นตัวปลาแบบนี้แหล่ะ ดีแล้วครับอย่ากวนน้ำให้ขุ่นเลย55555ใครมีปลาน่าชม เอามาอวดกันได้นะครับผมว่ามันสวยดี ปลาการ์ตูนคู่กับดอกไม้ทะเล นะครับแล้วปลาของคุณล่ะ คู่กับอะไรอย่าบอกนะ ว่าคู่กับน้ำเค็ม เพราะกงหราไม่มีน้ำเค็มย้ำ กงหรามีแต่น้ำใสเย็น อย่ามากวนน้ำให้ขุ่น ละกัน เดี๋ยวสวย..555
เจ้าตัวนี้ก็คงคุ้นเคยกันในฐานะที่เป็นหนึ่งในจำนวนเพื่อนของนีโม่ครับ ตัวจริงสวยครับ สวยมาก
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552
พรรณปลาในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ( ประเภทปลาสวยงาม )(ที่มา: ชวลิต วิทยานนท์ และคณะ สถาบันพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและกองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง กรมประมง)
ปลาตะเพียนถ้ำอัฟริกัน African blind barb, Mbanza-Ngungu blind cave fishอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Cyprinidae ชื่อวิทยาศาสตร์ Caecobarbus geersti Boulengerชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ อาศัยเฉพาะในลำธารใต้ถ้ำ 7 แห่ง ใกล้กับเมือง Mbanza-Ngungu ประเทศซาอีร์ อาจกินอินทรีย์สารที่มีในถ้ำ มีการผสมพันธุ์วางไข่ในฤดูฝนและพบลูกปลาหลังจากฤดูนั้น ชีววิทยาอื่นๆยังมีการศึกษาน้อยมาก พบขนาดใหญ่สุด 10 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการถูกจับขายเป็นปลาสายงามเกินไปมีการประเมินตั้งแต่ปี 1954 พบประมาณ 5,000 ตัว ใน 8 ถ้ำ และในปี1975 พบประมาณ 100 ตัวใน 1 ถ้ำ ที่มีการสำรวจ อยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix llรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า ถูกจับเพื่อเป็นปลาสวยงามอย่างเดียวมีการส่งออกไปขาย 500 ตัว ในปี 1977 และในอังกฤษมีการนำเข้ามา 110 ตัวในปี 1982 และที่ยังไม่มีรายงานคาดว่ามีอีกมาก เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของประเทศซาอีร์ ตั้งแต่ปี 1937 หรือก่อนหน้านั้น ( CITES,1989 )ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ รูปร่างแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวเรียว ส่วนหัวเล็ก ไม่มีตาหัว มีรูเล็กๆเรียงเป็นแถวหลายแถว ริมฝีปากมีหนวด 2 คู่ เกล็ดเล็ก ตัวมีสีชมพู และอาจมีสีเงินวาวที่ข้างฝาเหงือก สีของครีบใสชนิดที่คล้ายกัน ปลาถ้ำเม็กซิกัน Astyanax mexicanus มีลำตัวแบนกว่า และมีครีบไขมันอันเล็กๆGarra barreimiae จากโอมานและอาหรับ มีสีน้ำตาลประที่ลำตัว และมีแผ่นหนังกลมที่ใต้คาง ปลาในวงศ์ปลาตะเพียนอื่นๆ ตัวมีสีเงินหรือสีคล้ำ มีตาเห็นได้ชัด
ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด Cui-uiอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Catostชื่อวิทยาศาสตร์ Chasmister cujus copeชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลากินพืชและอินทรีย์สาร มีอายุยืนได้ถึง 45 ปี ( Helfman,Collette & Facey, 1997 ) อาศัยในทะเลสาบธรรมชาติ และแม่น้ำที่มีพื้นเป็นหินกรวด เคยเป็นปลาอาหารที่มีความสำคัญต่อชนชาติอินเดียนแดงเผ่า Paiute เคยพบทั่วตอนล่างของรัฐเนวาด้า สหรัฐ ปัจจุบันพบเฉพาะใน Lake Pyramid ในรัฐดังกล่าว ขนาดพบใหญ่สุด 67 เซนติเมตร ( Page & Burr, 1991)สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการสูญเสียถิ่นอาศัยในแม่น้ำและทะเลสาบโดยการสร้างเขื่อนและผันน้ำเพื่อการใช้สอย ในแม่น้ำ Truckee แต่ในปี 1976 ได้มีการสร้างทางผ่านให้ปลาอพยพขึ้นวางไข่เหนือเขื่อนได้ จึงมีการฟื้นตัวของประชากรขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง เป็นสัตว์สงวนของประเทศสหรัฐตาม Endangered Species Act. และอยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix lรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า เป็นอาหารถูกจับใช้ประโยชน์ภายในประเทศโดยชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และการใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีส่วนหัวใหญ่ ลำตัวหนา ส่วนหางเรียวเล็ก ริมฝีปากบางและเล็ก เกล็ดเล็ก มีจำนวนไม่เกิน 70 เกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว ( Page & Burre, 1991)ชนิดที่คล้าย ปลาในสกุลเดียวกัน 2 ช นิดคือ C. brevirostris และ C. liorus ( สูญพันธุ์ไปแล้วทั้ง 2 ชนิด )
ปลาหมูอารีย์ Dwarf clawn loachอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Cobitidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Botia sidthimunki Klauzewitzชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ อยู่ในสกุลปลาหมูที่มีขนาดเล็ก อาศัยในลำธารที่พื้นเป็นกรวดหิน ขนาดกลางถึงเล็ก และมีพรรณพืชขึ้น กินตัวอ่อนแมลงในน้ำ และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ เคยพบชุกชุมที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนบน ปัจจุบันยังพบอยู่ที่ลำน้ำว้าในลุ่มแม่น้ำน่าน จ.น่าน รวมถึงสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาวตอนกลาง ขนาดใหญ่สุด 8 เซนติเมตร แต่ชนิดที่พบในแม่น้ำว้าและในลาวใหญ่ถึง 11 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการสูญเสียถิ่นที่อาศัยและการจับขายมากเกินไปจึงหมดไปจากลุ่มน้ำแม่กลอง แต่ยังพบน้อยที่แม่น้ำว้าและประเทศลาว มีฟาร์มเอกชนบางแห่งเพาะพันธุ์ได้ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 และ พ.ร.บ.การประมงปี 2535รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า จับขายเป็นปลาสวยงามทั้งในตลาดในและต่างประเทศ เคยเป็นปลาสวยงามที่รู้จักกันดีในตลาดสากล ปัจจุบันมีจำนวนส่งขายจำกัด เฉพาะจากบางฟาร์มที่เพาะขยายพันธุ์ได้เส้นทางการค้าระหว่างประเทศ ส่งขายในตลาดขอองยุโรปเฉพาะเยอรมันนีเคยมีความนิยมมาก และะในตลาดของญี่ปุ่นและฮ่องกงลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ เป็นปลาหมูที่มีรูปร่างสั้น หัวเล็ก ตัวมีสีเหลืองอ่อน และมีคาดสีดำ 3 แนวตามแนวยาว ตั้งแต่กลางหลัง กลางลำตัว ตั้งแต่ปลายจมูกถึงโคนหาง และมีบั้งตามแนวตั้งที่ขาดตอนหลายแนว ครีบใสมีประสีคล้ำชนิดที่คล้ายกัน ปลาหมูชนิดอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย ไม่มีแถบสีดำกลางหลังและกลางลำตัวยกเว้น ปลาหมูคอก B. morleti มีแถบดำเฉพาะที่กลางหลัง แถบเดียวปลาหมูขาวหรือหมูหางแดง มีสีพื้นเรียบ อาจมีลายบั้งตามตัวครีบสีจางหรือแดงปลาหมูลาย B. helodes มีบั้งขวางลำตัวสำคล้ำหลายแนวและที่ครีบมีจุดประที่ลำตัวตอนหน้า ส่วนจงอยปากยาวกว่ามากปลาหมูอินเดีย B. dario มีลายแถบเป็นเส้นริ้วดำ-เหลืองบนลำตัว
ปลาบึก Mekong giant catfishอนุกรมวิธานอันดับ Siluriformesวงศ์ Pangasiidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon gigas Cheveyชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลาในกลุ่มปลาหนัง ( Catfish ) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก กินอินทรีย์สารและพืชขนาดเล็กจากพื้นท้องน้ำ แต่ในระยะวัยอ่อนกินลูกปลาที่เล็กกว่ามีการอพยพขึ้นวางไข่ในบริเวณต้นน้ำที่เป็นแก่งและแอ่งน้ำวนค่อนข้างลึก ปัจจุบันพบแหล่งวางไข่เพียงแห่งเดียวคือ บริเวณอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย และมีแหล่งจับที่สำคัญคือ บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ ในฤดูวางไข่ คือ เดือนเมษายน-พฤษภาคม วางไข่ครั้งละ 50,000-100,000 ฟอง ฟักเป็นตัวใน 36 ชม. เชื่อว่าไข่และตัวอ่อนถูกกระแสน้ำพาไปเลี้ยงตัวที่แม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา แล้วจึงเจริญวัยและเคลื่อนย้ายขึ้นมาบริเวณตอนกลางของแม่น้ำตั้งแต่ประเทศลาว ไทย และตอนบนของกัมพูชา เป็นปลาเฉพาะถิ่นของแม่น้ำโขง มีขนาดใหญ่สุดถึง 2.5 เมตร หนักกว่า 200 กก.( Vidthayanon, 1993 )สถานภาพ อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) ถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically endangered ) จากการจับมากเกินขนาด โดยเฉพาะการจับปลานี้มักทำในฤดูวางไข่เท่านั้น เคยพบบ่อยในแม่น้ำโขงตอนกลางเกือบตลอดสายตั้งแต่ประเทศลาว ไทย และแม่น้ำสาขา เช่น แม่น้ำมูล สงคราม แต่ในปัจจุบันไม่พบอีก และมีจำนวนน้อยลงมาก จากสถิติที่เคยจับได้ปีละกว่า 70 ตัว ในพ.ศ. 2531 ลดลงถึง 1-2 ตัวหรือจับไม่ได้เลยในรออบ 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix l และต้องได้รับอนุญาตจึงทำการประมงได้ โดยจำกัดจำนวนผู้ทำประมงตาม พ.ร.บ.การประมง ปี 2535รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า มีการจับและใช้ประโยชน์ภายในประเทศของถิ่นอาศัยเป็นจำนวนมาก โดยบริโภคเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาแปลก จากปลาที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์และจำหน่าย แจก โดยกรมประมงในบางปี มีการเลี้ยงทดลองในบ่อหรือเป็นปลาเนื้อและใช้ในบ่อตกปลาของเอกชนบางแห่ง แต่ปัจจุบันกรมประมงได้ระงับการจำหน่ายแล้วตั้งแต่ปี 2538 เส้นทางการค้าระหว่างประเทศ มีการจับปลาขนาดใหญ่โดยชาวประมงในฝั่งประเทศลาว แขวงบ่อแก้ว ซึ่งตรงกันข้ามกับ อ. เชียงแสน แล้วมีการส่งข้ามมาจำหน่ายในฝั่งประเทศไทย ปลาขนาดเล็กที่ได้จากการเพาะพันธุ์มีการส่งออกบางครั้งเพื่อวัตถุประสงค์การจัดแสดงและวิจัยในสถาบันของบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ยาวกว่า 25% ของความยาวลำตัว ตาอยู่ต่ำกว่าหรือเสมอกับมุมปากชนิดที่คล้ายกันปลาสวาย Pangasianodon hypophthalmus มีหัวสั้นกว่า 25% ของความยาวลำตัว ตาสูงกว่ามุมปาก ปลาสกุล Pangasius อื่นๆมีส่วนหัวสั้นกว่า ตามักสูงกว่ามุมปาก มีก้านครีบท้อง 6 อัน
ปลาค้างคาวติดหิน Freshwater batfish, Glyptosternine catfishอนุกรมวิธานอันดับ Siluriformesวงศ์ Sisoridaeชื่อวิทยาศาสตร์ Oreoglanis siamensis Smithชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลากลุ่มปลาหนังขนาดเล็ก ที่อาศัยเฉพาะในลำธารที่พื้นเป็นหินแก่งที่น้ำไหลแรงและอยู่ในภูเขาสูงกว่า 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส กินแมลงน้ำขนาดเล็ก มีการจับคู่วางไข่ในช่วงเดือนเมษายน ไข่ครั้งละ 80-100 ฟอง พบเฉพาะถิ่น ( endemic ) ที่ลำธารและน้ำตกบางแห่ง เช่น น้ำตกสิริภูมิ น้ำตก วชิรธาร ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่เท่านั้น ขนาดที่พบใหญ่สุดยาวถึง 13 เซนติเม้ตร ( smith, 1945)สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) เนื่องจากการสูญเสียถิ่นอาศัยในธรรมชาติจากการทำลายป่าและการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรในการทำไร่นาบนที่สูง และการจับกินเป็นอาหารในท้องถิ่นของขาวไทยภูเขา เคยทดลองเพาะเลี้ยงได้จำนวนน้อยโดยศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด จ.เชียงใหม่ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ.การประมงรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า พบมีการใช้ประโยชน์เฉพาะถิ่นเท่านั้น โดยจับเป็นอาหารประจำวันของชาวไทยภูเขา จับได้โดยการกั้นลำธาร หรือใช้มือหาจับตามซอกหินพร้อมๆกับปลาชนิดอื่นที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ยังไม่เคยพบมีการค้าในตลาด แต่อาจมีศักยภาพเป็นปลาแปลกและหายากในวงการปลาสวยงามบางกลุ่มลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีส่วนหัวแบนราบ มีหนวดสั้น จะงอยปากแผ่เป็นครึ่งวงกลม ลำตัวเรียวยาวแต่คอดหางค่อนข้างหนา ค รีบหางสั้นปลายเว้าตื้น ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก ยาวเกือบตลอดคอดหาง ตัวมีสีเขียวมะกอกอมเหลือง หรือน้ำตาลอ่อนอมเหลือง มักกระพือครีบอกอยู่เสมอ และถูกติดกับพื้นหรือขอบที่เลี้ยงชนิดที่คล้ายกัน ปลาผีเสื้อในสกุล balitora ต่างกันโดยที่มีเกล็ดเล็ก มีหนวดสั้นเป็นติ่งเล็กๆและไม่มีครีบไขมัน ปลา Loach sucker สกุล Gastromyzon หรือ Hemimyzon มีส่วนหัวโตมาก ครีบอกใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว มีเกล็ดเล็ก และลำตัว คอดหางสั้น ไม่มีครีบไขมันลูกปลา Sucker catfishes มีครีบยาว มีก้านแข็ง ผิวมีเกล็ดเป็นเกราะ
ปลาจวดแมคโดนัลด์,ปลาจวดเม็กซิกัน Totuavaอนุกรมวิธานอันดับ Perciformesวงศ์ Sciaenidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Totoaba macdonaldi ( Gilbert )ชื่อพ้อง Cynocion macdonaldi gilbert เดิมมีการใช้ชื่อสกุลว่า Cynocion แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขเป็นสกุล Totoaba ที่ถูกต้องกว่า ( Allen & Robertson, 1997) ชีววิทยาและการขยายพันธุ์ เป็นปลาทะเลที่มีการย้ายถิ่นเพื่อวางไข่ในบริเวณเขตน้ำกร่อย โดยที่ประชากรมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงปากแม่น้ำ ลูกปลามีการเคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินและเลี้ยงตัวในบริเวณชายฝั่งและเมื่อโตขึ้นจึงกลับมาผสมพันธุ์วางไข่ในบริเวณปากแม่น้ำ พบเฉพาะในอ่าวแคลิฟอร์เนีย ในน่านน้ำของประเทศเม็กซิโก ( Helfman, Collete & Facey, 1997 )สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) หรือสูญพันธุ์ในเชิงการประมง ( commercial extinction ) จากที่เคยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากการจับมากเกินขนาด และปลาขนาดเล็ก ถูกจับโดยไม่ตั้งใจจากเครื่องมือลากอวนกุ้ง และสภาพของแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนถูกเปลี่ยนแปลงจากปริมาณน้ำจืดที่ไหลออกจากแม่น้ำโคโลลาโดลงอย่างมาก ( Helfman, Collete & Facey, 1997 ) จัดอยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix lและเป็นสัตว์น้ำสงวนของประเทศเม็กซิโก ( Allen & Roberson , 1997, Fischer et al., 1995 ) รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า จับเป็นอาหาหรและใช้ถุงลมทำกระเพาะปลาตากแห้ง มักถูกผ่าท้องเอาเฉพาะถุงลมและโยนตัวปลาทิ้งเสมอ เคยถูกจับขึ้นปีละมากว่า 20,000 ตัน ในปี 1942 และลดจำนวนลงจนใกล้สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี 1975 ส่งออกจากประเทศเม็กซิโกไปสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ยังจับได้มากอยู่ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ ลักษณะแบบปลาจวดที่มีส่วนหัวเล็ก ครีบหลังตอนที่สองยาวประมาณ 40%ของความยาวลำตัว ครีบหางเว้าตื้นเป็น 2 ช่วง ตอนกลางแหลมเล็กน้อย ตัวมีสีเงิน ด้านท้อง และครีบสีเทาอมเหลือง
ปลาเสือตอ, ลาด , เสือตอลายใหญ่ Tiger perch, Siamese tiger perch อนุกรมวิธานอันดับ Perciformesวงศ์ Coiidae ( Datnioidae หรือ Lobotidae )ชื่อวิทยาศาสตร์ Coius microlepis ( Bleeker )ชื่อพ้อง Coius pulcher, Datnioides microlepis เคยใช้ชื่อสกุลเป็น Datnioidae และรู้จักกันมานาน แต่ Roberts & kottelat (1994 ) ได้ใช้ชื่อสกุลเป็น Coius และ Kottelat (1999) ได้ใช้ชื่อชนิดใหม่เป็น Coius pulcher กับชนิดที่พบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่กลอง และลุ่มน้ำโขงชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลาในกลุ่มคล้ายปลากะพงที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ในแม่น้ำและบึงธรรมชาติ ที่มีพรรณไม้และกิ่งไม้ ตอไม้จมน้ำ เป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้งและแมลง ผสมพันธุ์จับคู่และวางไข่เป็นไข่ลอยจำนวนมากเช่นเดียวกับปลากะพง แต่ก็ยังไม่มีใครเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้ได้ เคยพบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง และแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันสูญพันธุ์จากประเทศไทย และยังคงพบที่บอร์เนียว และสุมาตรา ซึ่งอาจเป็นคนละชนิดกับที่พบในประเทศไทย และใช้ชื่อว่า C. microlepis ขนาดพบใหญ่สุด 40 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) ในตลอดถิ่นที่พบและสูญพันธุ์แม้จากแหล่งธรรมชาติ ( Extinciton the wild ) ในประเทศไทย ( สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. 2540 ) แม้กำหนดให้เป็นสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงได้ตามการขออนุญาตแต่ก็ยังไม่มีผู้ใดเพาะได้ สูญพันธุ์เพราะการจับมากเกินไปและการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยในแม่น้ำ และมลภาวะในประเทศกัมพูชา และเวียดนามก็ถูกจับขึ้นมาจนใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ. การประมง และเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของประเทศกัมพูชารูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า เคยเป็นปลาอาหารที่มีราคาสูงและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นที่พบ แต่มักจับขายเป็นปลาสวยงามมากกว่าเพราะมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศเส้นทางการค้า ปัจจุบันจับได้จากน่านน้ำไทยน้อยมาก หรือเกือบไม่มีเลย ที่พบจากท้องตลาดได้จากการนำเข้าจากประเทศกัมพูชาและเวียดนามในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีส่วนน้อยมากที่สั่งเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย และส่งออกจากประเทศไทยในตลาดยุโรป สหรัฐ ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น รวมถึงสิงคโปร์ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีรูปร่างแบนข้าง ปากกว้าง และมีพื้นสีตัวเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง มีลายพาดสีดำกว้าง 5-6 ลาย ตั้งแต่ส่วนหัวถึงโคนหาง ลายที่หน้าอกคาดรอบถึงใต้ท้อง ครีบท้องสีดำชนิดที่คล้ายกันปลาเสือตอลายเล็ก C. undecimradiatus มีลายขวางสีดำที่แคบกว่ามากพาด 5-6 ลาย ลายที่ส่วนอกคาดไม่ถึงด้านท้องปลากะพงลาย C. Quadrifasciatus มีเกล็ดใหญ่กว่า ลายพาดบนหัวถึงโคนหาง 7-8 แถบ สีพื้นลำตัวสั้นกว่า หรือเป็นสีเทา
ปลาตะเพียนถ้ำอัฟริกัน African blind barb, Mbanza-Ngungu blind cave fishอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Cyprinidae ชื่อวิทยาศาสตร์ Caecobarbus geersti Boulengerชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ อาศัยเฉพาะในลำธารใต้ถ้ำ 7 แห่ง ใกล้กับเมือง Mbanza-Ngungu ประเทศซาอีร์ อาจกินอินทรีย์สารที่มีในถ้ำ มีการผสมพันธุ์วางไข่ในฤดูฝนและพบลูกปลาหลังจากฤดูนั้น ชีววิทยาอื่นๆยังมีการศึกษาน้อยมาก พบขนาดใหญ่สุด 10 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการถูกจับขายเป็นปลาสายงามเกินไปมีการประเมินตั้งแต่ปี 1954 พบประมาณ 5,000 ตัว ใน 8 ถ้ำ และในปี1975 พบประมาณ 100 ตัวใน 1 ถ้ำ ที่มีการสำรวจ อยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix llรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า ถูกจับเพื่อเป็นปลาสวยงามอย่างเดียวมีการส่งออกไปขาย 500 ตัว ในปี 1977 และในอังกฤษมีการนำเข้ามา 110 ตัวในปี 1982 และที่ยังไม่มีรายงานคาดว่ามีอีกมาก เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของประเทศซาอีร์ ตั้งแต่ปี 1937 หรือก่อนหน้านั้น ( CITES,1989 )ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ รูปร่างแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวเรียว ส่วนหัวเล็ก ไม่มีตาหัว มีรูเล็กๆเรียงเป็นแถวหลายแถว ริมฝีปากมีหนวด 2 คู่ เกล็ดเล็ก ตัวมีสีชมพู และอาจมีสีเงินวาวที่ข้างฝาเหงือก สีของครีบใสชนิดที่คล้ายกัน ปลาถ้ำเม็กซิกัน Astyanax mexicanus มีลำตัวแบนกว่า และมีครีบไขมันอันเล็กๆGarra barreimiae จากโอมานและอาหรับ มีสีน้ำตาลประที่ลำตัว และมีแผ่นหนังกลมที่ใต้คาง ปลาในวงศ์ปลาตะเพียนอื่นๆ ตัวมีสีเงินหรือสีคล้ำ มีตาเห็นได้ชัด
ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด Cui-uiอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Catostชื่อวิทยาศาสตร์ Chasmister cujus copeชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลากินพืชและอินทรีย์สาร มีอายุยืนได้ถึง 45 ปี ( Helfman,Collette & Facey, 1997 ) อาศัยในทะเลสาบธรรมชาติ และแม่น้ำที่มีพื้นเป็นหินกรวด เคยเป็นปลาอาหารที่มีความสำคัญต่อชนชาติอินเดียนแดงเผ่า Paiute เคยพบทั่วตอนล่างของรัฐเนวาด้า สหรัฐ ปัจจุบันพบเฉพาะใน Lake Pyramid ในรัฐดังกล่าว ขนาดพบใหญ่สุด 67 เซนติเมตร ( Page & Burr, 1991)สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการสูญเสียถิ่นอาศัยในแม่น้ำและทะเลสาบโดยการสร้างเขื่อนและผันน้ำเพื่อการใช้สอย ในแม่น้ำ Truckee แต่ในปี 1976 ได้มีการสร้างทางผ่านให้ปลาอพยพขึ้นวางไข่เหนือเขื่อนได้ จึงมีการฟื้นตัวของประชากรขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง เป็นสัตว์สงวนของประเทศสหรัฐตาม Endangered Species Act. และอยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix lรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า เป็นอาหารถูกจับใช้ประโยชน์ภายในประเทศโดยชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และการใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีส่วนหัวใหญ่ ลำตัวหนา ส่วนหางเรียวเล็ก ริมฝีปากบางและเล็ก เกล็ดเล็ก มีจำนวนไม่เกิน 70 เกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว ( Page & Burre, 1991)ชนิดที่คล้าย ปลาในสกุลเดียวกัน 2 ช นิดคือ C. brevirostris และ C. liorus ( สูญพันธุ์ไปแล้วทั้ง 2 ชนิด )
ปลาหมูอารีย์ Dwarf clawn loachอนุกรมวิธานอันดับ Cypriniformesวงศ์ Cobitidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Botia sidthimunki Klauzewitzชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ อยู่ในสกุลปลาหมูที่มีขนาดเล็ก อาศัยในลำธารที่พื้นเป็นกรวดหิน ขนาดกลางถึงเล็ก และมีพรรณพืชขึ้น กินตัวอ่อนแมลงในน้ำ และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ เคยพบชุกชุมที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนบน ปัจจุบันยังพบอยู่ที่ลำน้ำว้าในลุ่มแม่น้ำน่าน จ.น่าน รวมถึงสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาวตอนกลาง ขนาดใหญ่สุด 8 เซนติเมตร แต่ชนิดที่พบในแม่น้ำว้าและในลาวใหญ่ถึง 11 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) จากการสูญเสียถิ่นที่อาศัยและการจับขายมากเกินไปจึงหมดไปจากลุ่มน้ำแม่กลอง แต่ยังพบน้อยที่แม่น้ำว้าและประเทศลาว มีฟาร์มเอกชนบางแห่งเพาะพันธุ์ได้ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 และ พ.ร.บ.การประมงปี 2535รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า จับขายเป็นปลาสวยงามทั้งในตลาดในและต่างประเทศ เคยเป็นปลาสวยงามที่รู้จักกันดีในตลาดสากล ปัจจุบันมีจำนวนส่งขายจำกัด เฉพาะจากบางฟาร์มที่เพาะขยายพันธุ์ได้เส้นทางการค้าระหว่างประเทศ ส่งขายในตลาดขอองยุโรปเฉพาะเยอรมันนีเคยมีความนิยมมาก และะในตลาดของญี่ปุ่นและฮ่องกงลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ เป็นปลาหมูที่มีรูปร่างสั้น หัวเล็ก ตัวมีสีเหลืองอ่อน และมีคาดสีดำ 3 แนวตามแนวยาว ตั้งแต่กลางหลัง กลางลำตัว ตั้งแต่ปลายจมูกถึงโคนหาง และมีบั้งตามแนวตั้งที่ขาดตอนหลายแนว ครีบใสมีประสีคล้ำชนิดที่คล้ายกัน ปลาหมูชนิดอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย ไม่มีแถบสีดำกลางหลังและกลางลำตัวยกเว้น ปลาหมูคอก B. morleti มีแถบดำเฉพาะที่กลางหลัง แถบเดียวปลาหมูขาวหรือหมูหางแดง มีสีพื้นเรียบ อาจมีลายบั้งตามตัวครีบสีจางหรือแดงปลาหมูลาย B. helodes มีบั้งขวางลำตัวสำคล้ำหลายแนวและที่ครีบมีจุดประที่ลำตัวตอนหน้า ส่วนจงอยปากยาวกว่ามากปลาหมูอินเดีย B. dario มีลายแถบเป็นเส้นริ้วดำ-เหลืองบนลำตัว
ปลาบึก Mekong giant catfishอนุกรมวิธานอันดับ Siluriformesวงศ์ Pangasiidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon gigas Cheveyชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลาในกลุ่มปลาหนัง ( Catfish ) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก กินอินทรีย์สารและพืชขนาดเล็กจากพื้นท้องน้ำ แต่ในระยะวัยอ่อนกินลูกปลาที่เล็กกว่ามีการอพยพขึ้นวางไข่ในบริเวณต้นน้ำที่เป็นแก่งและแอ่งน้ำวนค่อนข้างลึก ปัจจุบันพบแหล่งวางไข่เพียงแห่งเดียวคือ บริเวณอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย และมีแหล่งจับที่สำคัญคือ บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ ในฤดูวางไข่ คือ เดือนเมษายน-พฤษภาคม วางไข่ครั้งละ 50,000-100,000 ฟอง ฟักเป็นตัวใน 36 ชม. เชื่อว่าไข่และตัวอ่อนถูกกระแสน้ำพาไปเลี้ยงตัวที่แม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา แล้วจึงเจริญวัยและเคลื่อนย้ายขึ้นมาบริเวณตอนกลางของแม่น้ำตั้งแต่ประเทศลาว ไทย และตอนบนของกัมพูชา เป็นปลาเฉพาะถิ่นของแม่น้ำโขง มีขนาดใหญ่สุดถึง 2.5 เมตร หนักกว่า 200 กก.( Vidthayanon, 1993 )สถานภาพ อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) ถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically endangered ) จากการจับมากเกินขนาด โดยเฉพาะการจับปลานี้มักทำในฤดูวางไข่เท่านั้น เคยพบบ่อยในแม่น้ำโขงตอนกลางเกือบตลอดสายตั้งแต่ประเทศลาว ไทย และแม่น้ำสาขา เช่น แม่น้ำมูล สงคราม แต่ในปัจจุบันไม่พบอีก และมีจำนวนน้อยลงมาก จากสถิติที่เคยจับได้ปีละกว่า 70 ตัว ในพ.ศ. 2531 ลดลงถึง 1-2 ตัวหรือจับไม่ได้เลยในรออบ 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix l และต้องได้รับอนุญาตจึงทำการประมงได้ โดยจำกัดจำนวนผู้ทำประมงตาม พ.ร.บ.การประมง ปี 2535รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า มีการจับและใช้ประโยชน์ภายในประเทศของถิ่นอาศัยเป็นจำนวนมาก โดยบริโภคเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาแปลก จากปลาที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์และจำหน่าย แจก โดยกรมประมงในบางปี มีการเลี้ยงทดลองในบ่อหรือเป็นปลาเนื้อและใช้ในบ่อตกปลาของเอกชนบางแห่ง แต่ปัจจุบันกรมประมงได้ระงับการจำหน่ายแล้วตั้งแต่ปี 2538 เส้นทางการค้าระหว่างประเทศ มีการจับปลาขนาดใหญ่โดยชาวประมงในฝั่งประเทศลาว แขวงบ่อแก้ว ซึ่งตรงกันข้ามกับ อ. เชียงแสน แล้วมีการส่งข้ามมาจำหน่ายในฝั่งประเทศไทย ปลาขนาดเล็กที่ได้จากการเพาะพันธุ์มีการส่งออกบางครั้งเพื่อวัตถุประสงค์การจัดแสดงและวิจัยในสถาบันของบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ยาวกว่า 25% ของความยาวลำตัว ตาอยู่ต่ำกว่าหรือเสมอกับมุมปากชนิดที่คล้ายกันปลาสวาย Pangasianodon hypophthalmus มีหัวสั้นกว่า 25% ของความยาวลำตัว ตาสูงกว่ามุมปาก ปลาสกุล Pangasius อื่นๆมีส่วนหัวสั้นกว่า ตามักสูงกว่ามุมปาก มีก้านครีบท้อง 6 อัน
ปลาค้างคาวติดหิน Freshwater batfish, Glyptosternine catfishอนุกรมวิธานอันดับ Siluriformesวงศ์ Sisoridaeชื่อวิทยาศาสตร์ Oreoglanis siamensis Smithชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลากลุ่มปลาหนังขนาดเล็ก ที่อาศัยเฉพาะในลำธารที่พื้นเป็นหินแก่งที่น้ำไหลแรงและอยู่ในภูเขาสูงกว่า 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส กินแมลงน้ำขนาดเล็ก มีการจับคู่วางไข่ในช่วงเดือนเมษายน ไข่ครั้งละ 80-100 ฟอง พบเฉพาะถิ่น ( endemic ) ที่ลำธารและน้ำตกบางแห่ง เช่น น้ำตกสิริภูมิ น้ำตก วชิรธาร ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่เท่านั้น ขนาดที่พบใหญ่สุดยาวถึง 13 เซนติเม้ตร ( smith, 1945)สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) เนื่องจากการสูญเสียถิ่นอาศัยในธรรมชาติจากการทำลายป่าและการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรในการทำไร่นาบนที่สูง และการจับกินเป็นอาหารในท้องถิ่นของขาวไทยภูเขา เคยทดลองเพาะเลี้ยงได้จำนวนน้อยโดยศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด จ.เชียงใหม่ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ.การประมงรูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า พบมีการใช้ประโยชน์เฉพาะถิ่นเท่านั้น โดยจับเป็นอาหารประจำวันของชาวไทยภูเขา จับได้โดยการกั้นลำธาร หรือใช้มือหาจับตามซอกหินพร้อมๆกับปลาชนิดอื่นที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ยังไม่เคยพบมีการค้าในตลาด แต่อาจมีศักยภาพเป็นปลาแปลกและหายากในวงการปลาสวยงามบางกลุ่มลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีส่วนหัวแบนราบ มีหนวดสั้น จะงอยปากแผ่เป็นครึ่งวงกลม ลำตัวเรียวยาวแต่คอดหางค่อนข้างหนา ค รีบหางสั้นปลายเว้าตื้น ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก ยาวเกือบตลอดคอดหาง ตัวมีสีเขียวมะกอกอมเหลือง หรือน้ำตาลอ่อนอมเหลือง มักกระพือครีบอกอยู่เสมอ และถูกติดกับพื้นหรือขอบที่เลี้ยงชนิดที่คล้ายกัน ปลาผีเสื้อในสกุล balitora ต่างกันโดยที่มีเกล็ดเล็ก มีหนวดสั้นเป็นติ่งเล็กๆและไม่มีครีบไขมัน ปลา Loach sucker สกุล Gastromyzon หรือ Hemimyzon มีส่วนหัวโตมาก ครีบอกใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว มีเกล็ดเล็ก และลำตัว คอดหางสั้น ไม่มีครีบไขมันลูกปลา Sucker catfishes มีครีบยาว มีก้านแข็ง ผิวมีเกล็ดเป็นเกราะ
ปลาจวดแมคโดนัลด์,ปลาจวดเม็กซิกัน Totuavaอนุกรมวิธานอันดับ Perciformesวงศ์ Sciaenidaeชื่อวิทยาศาสตร์ Totoaba macdonaldi ( Gilbert )ชื่อพ้อง Cynocion macdonaldi gilbert เดิมมีการใช้ชื่อสกุลว่า Cynocion แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขเป็นสกุล Totoaba ที่ถูกต้องกว่า ( Allen & Robertson, 1997) ชีววิทยาและการขยายพันธุ์ เป็นปลาทะเลที่มีการย้ายถิ่นเพื่อวางไข่ในบริเวณเขตน้ำกร่อย โดยที่ประชากรมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงปากแม่น้ำ ลูกปลามีการเคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินและเลี้ยงตัวในบริเวณชายฝั่งและเมื่อโตขึ้นจึงกลับมาผสมพันธุ์วางไข่ในบริเวณปากแม่น้ำ พบเฉพาะในอ่าวแคลิฟอร์เนีย ในน่านน้ำของประเทศเม็กซิโก ( Helfman, Collete & Facey, 1997 )สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) หรือสูญพันธุ์ในเชิงการประมง ( commercial extinction ) จากที่เคยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากการจับมากเกินขนาด และปลาขนาดเล็ก ถูกจับโดยไม่ตั้งใจจากเครื่องมือลากอวนกุ้ง และสภาพของแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนถูกเปลี่ยนแปลงจากปริมาณน้ำจืดที่ไหลออกจากแม่น้ำโคโลลาโดลงอย่างมาก ( Helfman, Collete & Facey, 1997 ) จัดอยู่ในบัญชีรายชื่อ CITES Appendix lและเป็นสัตว์น้ำสงวนของประเทศเม็กซิโก ( Allen & Roberson , 1997, Fischer et al., 1995 ) รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า จับเป็นอาหาหรและใช้ถุงลมทำกระเพาะปลาตากแห้ง มักถูกผ่าท้องเอาเฉพาะถุงลมและโยนตัวปลาทิ้งเสมอ เคยถูกจับขึ้นปีละมากว่า 20,000 ตัน ในปี 1942 และลดจำนวนลงจนใกล้สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี 1975 ส่งออกจากประเทศเม็กซิโกไปสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ยังจับได้มากอยู่ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ ลักษณะแบบปลาจวดที่มีส่วนหัวเล็ก ครีบหลังตอนที่สองยาวประมาณ 40%ของความยาวลำตัว ครีบหางเว้าตื้นเป็น 2 ช่วง ตอนกลางแหลมเล็กน้อย ตัวมีสีเงิน ด้านท้อง และครีบสีเทาอมเหลือง
ปลาเสือตอ, ลาด , เสือตอลายใหญ่ Tiger perch, Siamese tiger perch อนุกรมวิธานอันดับ Perciformesวงศ์ Coiidae ( Datnioidae หรือ Lobotidae )ชื่อวิทยาศาสตร์ Coius microlepis ( Bleeker )ชื่อพ้อง Coius pulcher, Datnioides microlepis เคยใช้ชื่อสกุลเป็น Datnioidae และรู้จักกันมานาน แต่ Roberts & kottelat (1994 ) ได้ใช้ชื่อสกุลเป็น Coius และ Kottelat (1999) ได้ใช้ชื่อชนิดใหม่เป็น Coius pulcher กับชนิดที่พบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่กลอง และลุ่มน้ำโขงชีววิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นปลาในกลุ่มคล้ายปลากะพงที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ในแม่น้ำและบึงธรรมชาติ ที่มีพรรณไม้และกิ่งไม้ ตอไม้จมน้ำ เป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้งและแมลง ผสมพันธุ์จับคู่และวางไข่เป็นไข่ลอยจำนวนมากเช่นเดียวกับปลากะพง แต่ก็ยังไม่มีใครเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้ได้ เคยพบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง และแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันสูญพันธุ์จากประเทศไทย และยังคงพบที่บอร์เนียว และสุมาตรา ซึ่งอาจเป็นคนละชนิดกับที่พบในประเทศไทย และใช้ชื่อว่า C. microlepis ขนาดพบใหญ่สุด 40 เซนติเมตรสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ ( Endangered ) ในตลอดถิ่นที่พบและสูญพันธุ์แม้จากแหล่งธรรมชาติ ( Extinciton the wild ) ในประเทศไทย ( สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. 2540 ) แม้กำหนดให้เป็นสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงได้ตามการขออนุญาตแต่ก็ยังไม่มีผู้ใดเพาะได้ สูญพันธุ์เพราะการจับมากเกินไปและการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยในแม่น้ำ และมลภาวะในประเทศกัมพูชา และเวียดนามก็ถูกจับขึ้นมาจนใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ. การประมง และเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของประเทศกัมพูชารูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า เคยเป็นปลาอาหารที่มีราคาสูงและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นที่พบ แต่มักจับขายเป็นปลาสวยงามมากกว่าเพราะมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศเส้นทางการค้า ปัจจุบันจับได้จากน่านน้ำไทยน้อยมาก หรือเกือบไม่มีเลย ที่พบจากท้องตลาดได้จากการนำเข้าจากประเทศกัมพูชาและเวียดนามในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีส่วนน้อยมากที่สั่งเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย และส่งออกจากประเทศไทยในตลาดยุโรป สหรัฐ ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น รวมถึงสิงคโปร์ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ มีรูปร่างแบนข้าง ปากกว้าง และมีพื้นสีตัวเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง มีลายพาดสีดำกว้าง 5-6 ลาย ตั้งแต่ส่วนหัวถึงโคนหาง ลายที่หน้าอกคาดรอบถึงใต้ท้อง ครีบท้องสีดำชนิดที่คล้ายกันปลาเสือตอลายเล็ก C. undecimradiatus มีลายขวางสีดำที่แคบกว่ามากพาด 5-6 ลาย ลายที่ส่วนอกคาดไม่ถึงด้านท้องปลากะพงลาย C. Quadrifasciatus มีเกล็ดใหญ่กว่า ลายพาดบนหัวถึงโคนหาง 7-8 แถบ สีพื้นลำตัวสั้นกว่า หรือเป็นสีเทา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)